"ความพึงพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"
บริษัท ทีริช คอนสทรัคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จากประสบการณ์ การทำงานก่อสร้างให้ลูกค้ามาเป็นเวลา 10 ปีเราเข้าใจดี อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ โครงการก่อสร้างของท่านประสบณ์ความสำเร็จ ท่านคงปฎิเสธไม่ได้ว่า"ต้นทุนที่ต่ำเท่าไหร่ ผลกำไรก็มากเท่านั้น" อีกอย่างบริษัทของเรามีโรงงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีต ซึ่งทำให้เรามีสินค้าที่สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา รวมทั้งจากประสบณ์การของผู้บริหารที่เคยเป็นพนักงานของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ เราจึงกล้าพูดได้ว่า " เราเป็นมืออาชีพเรื่องวัสดุก่อสร้าง " และยึดถือความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก
เราเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายโดยตรงจากโรงงาน ทุกกลุ่ม ทุกโรงงาน ที่เป็นวัสดุหลักของงานก่อสร้าง ได้แก่ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ , โรงงานผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ , โรงงานผลิตอิฐมวลเบา ,อิฐบล็อก ,อิฐมอญ, โรงงานผลิตเหล็กเส้นก่อสร้าง และเหล็กรูปพรรณ ฯลฯ ราคาต่ำจริงๆ เรามีนนโยบายขายสินค้าส่งอย่างเดียว ไม่ขายหน้าร้าน เพราะฉะนั้นสินค้าของเราจึงมีราคาต่ำทุกตัว ออกจากโรงงาน
ส่งถึงหน้างานเลย จะไม่มีค่าดอกเบี้ยที่แฝงอยู่ในราคาสินค้าเพราะนำสินค้ามากองเก็บไว้เหมือนกับร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไป ลูกค้าของเราคือลูกค้าทุกกลุ่มที่ใช้งานปริมาณเยอะๆๆมีสินค้าเต็มเที่ยว 6 ล้อ 10ล้อ หรือเทเลอร์ ในรคาที่พิเศษสุดๆๆ
"ความพึงพอใจของลูกค้า คือที่มาของเรา"
วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ปูนซีเมนต์ทีพีไอ
ปูนซีเมนต์ตราทีพีไอ (TPI)
ในอดีตปูนซีเมนต์มีผู้ผลิตเพียง 3 ราย มีกำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี รัฐบาลได้พยายามช่วยแก้ไขปัญหาทุกวิถีทาง ท้ายสุดจึงมีมติให้้ผู้สนใจลงทุนสามารถก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์เพื่อแก้ไข ปัญหาระยะยาว
ปี 2533 บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)ได้เริ่มก่อสร้าง โรงงานผลิตปูนซีเมนต์์แห่งแรกที่จังหวัดสระบุรี มีกำลังการผลิต 2.5 ล้านตันต่อปีปี 2537 โรงปูนซีเมนต์แห่งที่ 2 ได้แล้วเสร็จ ทำให้การผลิตสูงเป็นทวีคูณคือ 5 ล้านตันต่อปี และในปี 2539 ได้เปิดโรงปูนซีเมนต์แห่งที่ 3 ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 8.5 ล้านตันต่อปี ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการเปิดโรงปูนซีเมนต์แห่งที่ 4 เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 12 ล้านตันต่อปี
ปูนซีเมนต์ทีพีไอแดง
ทีพีไอแดง ราคา 12X.00 บาท/ถุง ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559 ,089 079 5722 |
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ตราทีพีไอ (สีแดง) เหมาะที่จะนำไปใช้กับงานก่อสร้างงานคอนกรีตที่ต้องการกำลังอัดสูง และงานคอนกรีตทั่วไป เช่น งานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทุกชนิด สะพาน ถนน สนามบิน และผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงประเภทต่างๆ
ตารางคุณสมบัติ คลิกเลย!!!
..................................................................................................................................................
ปูนซีเมนต์ทีพีไอเขียว
ทีพีไอเขียว ราคา 11X บาท/ถุง ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559, 089 079 5722 |
ปูนซีเมนต์ผสมตราทีพีไอ (สีเขียว) มีคุณสมบัติง่ายต่อการใช้งานและเหมาะในการใช้ผลิตโอ่ง ถนนทางเท้า งานวงบ่อ และงานคอนกรีตขนาดเล็กทั่วไปที่ไม่ต้องการกำลังอัดสูง ฯลฯ นอกจากนี้ ปูนซีเมนต์ผสมตราทีพีไอ (สีเขียว) ยังมีคุณสมบัติยืดหดตัวน้อยไม่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวแก่ อาคาร จึงเหมาะสม ที่จะใช้ในงานก่อและฉาบได้ดี
ตารางคุณสมบัติ คลิก!!!
ปูนซีเมนต์ทีพีไอแดง 299
ปูนซีเมนต์ทีพีไอแดง 299 ราคา 12X.00 บาท/ถุง ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559, 089 079 5722 |
ปูนแดง 299 ตราทีพีไอ เป็นปูนซีเมนต์สูตรใหม่ เพิ่มความแข็งแรง ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยใช้นาโนเทคโนโลยีร่วมกับการใช้วัตถุดิบที่
มีคุณภาพสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิต มีคุณภาพเป็นไปตาม
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก.2594-2556
และ ASTMC1157 TYPE GU
ปูนแดง 299 ตราทีพีไอ เหมาะสำหรับใช้กับงานโครงสร้างบ้านพักอาศัย
อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทุกชนิด ในส่วนของงานฐานราก เสา คาน พื้น
งานหล่อคอนกรีตที่ต้องการกำลังอัดสูง งานคอนกรีตทั่วไป สะพาน ถนน
และผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงประเภทต่างๆ ให้ความแข็งแรง ทนทาน ลดการแตกร้าวและหลุดล่อนได้ดีกว่าปูนโครงสร้างแบบเดิม อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly Product)
เพื่ออนาคตที่ดีและยั่งยืนกับสังคมไทย
ตารางคุณสมบัติ คลิก!!!
ปูนซีเมนต์ทีพีไอเขียว 197
ปูนซีเมนต์ทีพีไอ 197 ราคา11X.00 บาท ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
เป็นปูนซีเมนต์ผสมที่ได้จากการผสมวัสดุเฉื่อย เช่น หินปูน และอื่นๆกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ผลิตขึ้นโดยให้คุณภาพของปูนซีเมนต์ที่คุณสมบัติถูกต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรฐานอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ผสมมอก. 80-2550 เหมาะสำหรับงานก่องานฉาบและ
งานเทคอนกรีตที่รับกำลังอัดไม่สูงมาก
งานเทคอนกรีตที่รับกำลังอัดไม่สูงมาก
............................................................................................
ปูนซีเมนต์ก่อสำเร็จรูป ทีพีไอ M300
คือปูนก่อสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับงานก่อผนังต่างๆปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทีพีไอ M300 ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
เช่น ผนังอิฐมอญ หรือคอนกรีตบล็อคที่เพิ่มความสามารถในการยึดเกาะสูง ทำให้ก่อผนังได้สะดวกขึ้นทั้งยังคงความแข็งแรงอีกด้วย ได้รับรอง คุณภาพตาม มอก.598-2547ปูนก่อสำเร็จรูปชนิดแห้ง (ชนิด 50)
วิธีการใช้งานปูนก่อสำเร็จรูปทีพีไอ M 300
ราดน้ำอิฐมอญ หรือ คอนกรีตบล็อคให้ชุ่มพอประมาณผสมปูนก่อ ทีพีไอ M 300 กับน้ำสะอาด 4.5 : 1 โดยปริมาตรผสมกันให้เข้าเป็นเนื้อเดียว
นำไปใช้งานตามขั้นตอนการก่อทั่วไป
...................................................................................................
ปูนซีเมนต์ก่อสำเร็จรูป ทีพีไอ M310
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทีพีไอ M310 ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
ก่อบล็อคมวลเบา โดยเฉพาะให้แรงยึดเกาะสูง เหนียวลื่น ก่อง่าย ทำงานได้เร็วทำให้ผนังที่ก่อสวยงาม แข็งแรงทนทาน
วิธีการใช้งานปูนก่อบล็อคมวลเบาทีพีไอ M 310
ผสมปูนก่อบล็อคมวลเบา ทีพีไอ M 310 กับน้ำสะอาด 2.6 : 1 โดยปริมาตร
ผสมกันให้เข้าเป็นเนื้อเดียว
นำไปใช้งานตามขั้นตอนการก่อบล็ิอคมวลเบา โดยใช้เกรียงพิเศษสำหรับก่อบล็อคมวลเบา
(ไม่ควรใช้เกรียงใบโพธิ์ในการก่อบล็อคมวลเบา)
.........................................................................................................
ปูนซีเมนต์ฉาบสำเร็จรูป ทีพีไอ M100
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทีพีไอ M310 ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
ผิวผนังที่ต้องการความประณีตสวยงาม เนื้องานที่ได้จะมีความเนียน และละเอียดเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับผนังอิฐมอญ หรือคอนกรีตบล็อค ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคารได้รับรองคุณภาพตาม
มอก.1776-2542(ฉาบละเอียด) มีคุณสมบัติพิเศษในการอุ้มน้ำ ทำให้ฉาบง่าย ลดปัญหาการแตกร้าวและการแตกลายงา ผนังไม่หลุดล่อนและไม่หดตัวหลังการฉาบ
วิธีการใช้งานปูนฉาบละเอียดทีพีไอ M 100
ทำความสะอาด และราดน้ำผิวผนังที่จะฉาบให้ชุ่ม
พอประมาณผสมปูนฉาบละเอียด ทีพีไอ M 100
กับน้ำสะอาด 3:1 โดยปริมาตรผสมกันให้เข้าเป็นเนื้อเดียว
นำไปใช้งานตามขั้นตอนการฉาบทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถ
ใช้ควบคู่กับเครื่องพ่นปูน (Mixing Pump) ได้
..............................................................................................
ปูนซีเมนต์ฉาบสำเร็จรูป ทีพีไอ M100C
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทีพีไอ M100C ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
คือปูนฉาบสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับงานฉาบผิวเรียบ
เช่น ผนังคอนกรีต ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
อาคาร ได้รับรองคุณภาพตามมอก. 1776-2542 (ฉาบคอนกรีต) มีคุณสมบัติพิเศษในการอุ้มน้ำ
เพิ่มแรงยึดเกาะสูงเป็นพิเศษ และทำให้เนื้อปูน
มีความเหนียว ลื่น ฉาบง่าย ลดปัญหาการแตกร้าว และการแตกลายงา ผนังไม่หลุดล่อนและไม่หดตัวหลังการฉาบ
ธีการใช้งานปูนฉาบผิวคอนกรีตทีพีไอ M 100 C
ทำความสะอาด และราดน้ำผิวผนังที่จะฉาบให้ชุ่มพอประมาณ
ผสมปูนฉาบผิวคอนกรีต ทีพีไอ M 100 C กับน้ำสะอาด 3.5 : 1 โดยปริมาตร
ผสมกันให้เข้าเป็นเนื้อเดียว
นำปูนที่ผสมได้ฉาบบนผิวคอนกรีตตามขั้นตอนการฉาบทั่วไป
โดยไม่ต้องสกัดผิวก่อน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ควบคู่กับเครื่องพ่นปูน (Mixing Pump) ได้
.........................................................................................................
ปูนซีเมนต์ฉาบสำเร็จรูป ทีพีไอ M200
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทีพีไอ M200 ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
เหมาะสำหรับใช้ฉาบผนังอิฐมอญ หรือคอนกรีต
บล็อค ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ได้รับรองคุณภาพตามมอก.1776-2542 (ฉาบทั่วไป) มีคุณสมบัติพิเศษในการอุ้มน้ำ ทำให้ฉาบง่ายลดปัญหาการแตกร้าวและการแตกลายงา ผนังไม่หลุดล่อน และไม่หดตัวหลังการฉาบ
ทำความสะอาด และราดน้ำผิวผนังที่จะฉาบให้ชุ่มพอประมาณผสมปูนฉาบทั่วไป ทีพีไอ M 200 กับน้ำสะอาด 3.5 : 1 โดยปริมาตรผสมกันให้เข้าเป็นเนื้อเดียว
นำไปใช้งานตามขั้นตอนการฉาบทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้ควบคู่กับเครื่องพ่นปูน (Mixing Pump) ได้
...............................................................................................
ปูนซีเมนต์ฉาบสำเร็จรูป ทีพีไอ M200
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทีพีไอ M210 ขอราคาโครงการได้ที่ 02 988 5559,089 0795722 |
คือปูนฉาบสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับงานฉาบผนัง
บล็อคมวลเบา โดยเฉพาะใช้ได้ทั้งภายในและ
ภายนอกอาคาร รวมทั้งสามารถใช้สำหรับงาน
ฉาบผนังอิฐมอญ หรือคอนกรีตบล็อค ได้อีกด้วย
วิธีการใช้งานปูนฉาบบล็อคมวลเบาทีพีไอ M 210
ทำความสะอาด และราดน้ำผิวผนังที่จะฉาบให้ชุ่มพอประมาณผสมปูนฉาบบล็อคมวลเบา ทีพีไอ M 210 กับน้ำสะอาด 3.5 : 1 โดยปริมาตรผสมกันให้เข้าเป็นเนื้อเดียวนำไปใช้งานตามขั้นตอนการฉาบทั่วไ
...................................................................................................
ปูนฉาบสำเร็จรูป ซูเปอร์ สกิมโค้ท ทีพีไอ
เป็นปูนสำเร็จรูป สำหรับงานฉาบบาง ทำงานด้วยเกรียงขัดมัน
ใช้ฉาบเป็น Finishing Coat ทำให้ผิวเรียบเนียนเป็นพิเศษ
20 กก. |
และผิวฉาบที่ไม่สม่ำเสมอ สามารถทำเป็นผนังเปลือย หรือทาสีทับได้สามารถฉาบได้ทั้งบนผนังคอนกรีตหรือผนังปูนฉาบทั่วไป เช่น ผนังที่ฉาบด้วย M100,M100C,M200, หรือM210 เป็นต้น
วิธีการใช้งาน ปูนฉาบสำเร็จรูป ซูเปอร์ สกิมโค้ท ทีพีไอ
ผสมปูนฉาบ Super Skim Coat TPI กับน้ำ โดยใช้อัตราส่วน ปูน 1 ถุง (20 กก.) ต่อน้ำ 8 ลิตร โดยเติมย้ำทีละน้อยแล้วปั่นผสมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยไม่ให้เหลือเม็ดปูนที่ยังไม่เข้ากับน้ำ ฉาบปูน Super Skim Coat TPI ด้วยเกรียงเหล็กขัดมัน ฉาบบางรีดติดผนังขึ้นที่ละชั้น เมื่อปูนฉาบแห้งหมาดให้ฉาบทับด้วยวิธีเดียวกันจนได้ความหนาตามที่ต้องการ (ประมาณ 1-2 mm.)ก่อนการทาสีสามารถใช้กระดาษทรายละเอียด ขัดตกแต่ง เพื่อให้ได้ผิวเรียบเนียนเพิ่มขึ้นได้
..............................................................................................................................
.......................................................................................................................
ขอบคุณที่มา : บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน
ปูนซีเมนต์และการประยุกต์ใช้งาน
นอกจากคุณภาพของปูนซีเมนต์ที่ดีและได้มาตรฐานแล้ว การเลือกประเภทของปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งานนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาเนื่องจากการใช้งานปูนซีเมนต์ไม่ถูกประเภทได้
การจำแนกประเภทของปูนต์ซีเมนต์ สามารถจำแนกประเภทของปูนซีเมนต์ตามลักษณะการใช้งาน ออกเป็น 3 กลุ่่มหลักๆได้แก่
1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น ปูนแดงทีพีไอ , ปูนทีพีไอรับกำลังอัดเร็ว,ปูนทีพีไอทนซัลเฟตสูง,
ปูนตราทีพีไอ ทนน้ำเค็ม ดินเค็ม , เป็นต้น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ตาม มอก. 15 เล่ม 1 : แบ่งเป็น 5 ประเภท
และ ASTM C 150 : แบ่งเป็น 8 ประเภทโดยเพิ่มประเภท 1A, 2A, และ3A
2. ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อ งานฉาบ เช่น ปูนเขียวทีพีไอ, ปูนเขียวตราลูกโลก, ปูนสำเร็จรูปตราทีพีไอ สูตรต่างๆ
ปูนซีเมนต์สำหรับงาน ก่อ-ฉาบ-เท ต้องได้รับตามมารฐานตาม มอก. 80
ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ ต้องได้รับมาตรฐาน ASTM C 91
3. ปูนซีเมนต์สำหรับงานพิเศษ เช่น ปูนซีเมนต์ทีพีไอขุดเจาะน้ำมัน ,ปูนซีเมนต์ขาวตราทีพีไอ
....................................................................................................................
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
นอกจากคุณภาพของปูนซีเมนต์ที่ดีและได้มาตรฐานแล้ว การเลือกประเภทของปูนซีเมนต์ให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้งานนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาเนื่องจากการใช้งานปูนซีเมนต์ไม่ถูกประเภทได้
การจำแนกประเภทของปูนต์ซีเมนต์ สามารถจำแนกประเภทของปูนซีเมนต์ตามลักษณะการใช้งาน ออกเป็น 3 กลุ่่มหลักๆได้แก่
1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น ปูนแดงทีพีไอ , ปูนทีพีไอรับกำลังอัดเร็ว,ปูนทีพีไอทนซัลเฟตสูง,
ปูนตราทีพีไอ ทนน้ำเค็ม ดินเค็ม , เป็นต้น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ตาม มอก. 15 เล่ม 1 : แบ่งเป็น 5 ประเภท
และ ASTM C 150 : แบ่งเป็น 8 ประเภทโดยเพิ่มประเภท 1A, 2A, และ3A
2. ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อ งานฉาบ เช่น ปูนเขียวทีพีไอ, ปูนเขียวตราลูกโลก, ปูนสำเร็จรูปตราทีพีไอ สูตรต่างๆ
ปูนซีเมนต์สำหรับงาน ก่อ-ฉาบ-เท ต้องได้รับตามมารฐานตาม มอก. 80
ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ ต้องได้รับมาตรฐาน ASTM C 91
3. ปูนซีเมนต์สำหรับงานพิเศษ เช่น ปูนซีเมนต์ทีพีไอขุดเจาะน้ำมัน ,ปูนซีเมนต์ขาวตราทีพีไอ
....................................................................................................................
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ปูนซีเมนต์ กับวัสดุที่ใช้กับงานก่อ
วัสดุที่ใช้ในงานก่อ
1. ปูนซีเมนต์
ประเภทของปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานก่อโดยทั่วไป คือ ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ปูนซีเมนต์ผสมทีพีไอ ปูนซีเมนต์ผสมตราลูกโลกเขียวเ ป็นต้น เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ผสมหรือ มอก. 80 แต่ไม่นิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทำปูนก่อ เนื่องจากมีระยะเวลาแห้งตัว (Setting Time ) ที่เร็วเกินไป
คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่ดีสำหรับงานก่อ จะต้องมีความเหนียวนุ่ม เวลาปั้นจะจับตัวเป็นก้อนไม่แห้งแตก ยึดเกาะก้อนอิฐได้ดี แต่ไม่เหนียวติดเกรียงไม่ร่วงหล่นในขณะที่เคาะอิฐให้ได้ระดับ หรือยุบตัวได้ง่าย มีระยะของการแห้งตัวที่พอเหมาะ มีการหดตัวน้อย จึงลดการแตกร้าวได้
ปูนซีเมนต์ผสมโดยทั่วไป มีน้ำหนักถุงละ 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 3-4 ตรม. ปูนซีเมนต์ที่ดีนอกจากผลิตจากบริษัทที่ได้มาตรฐานแล้วคุณภาพของปูนซีเมนต์ขณะนำมาใช้งานต้องอยู่ในสภาพที่ดีด้วย เนื่องจากปูนซีเมนต์มีอายุการของเก็บ ปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้นาน เมื่อถูกความชื้นคุณภาพจะลดลง บางส่วนอาจจับตัวเป็นเม็ด การนำมาใช้ต้องนำส่วนที่เป็นเม็ดออกเสียก่อน หรือถ้าชื้นมากจนแข็งเป็นก้อนบี้ไม่แตกก็ไม่ควรนำมาใช้ ดังนั้นการจัดเก็บปูนซีเมนต์ควรเก็บให้โดนความชื้นน้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ปูนจับตัวเป็นก้อนก่อนนำมาใช้งาน
2. ทราย
ทรายที่นำมาใช้ในงานก่อคือทรายหยาบ ซึ่งควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตาม มอก. 598 คือ ควรเป็นทรายน้ำจืดที่มีขนาดลดผ่านตะแกรงร่อนขนาด
4.75 มม. โดยการนำมาร่อนเอากรวดเม็ดใหญ่ๆออกก่อน มีลักษณะแข็ง แน่น ทนทาน เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม เม็ดทรายที่เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม จะช่วย
เพิ่มการยึดเกาะและทำให้ได้กำลังดีกว่าไม่ควรมีลักาณะแบน หรือยาว หรือพรุน ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขนาดของเม็ดทรายควรมีขนาดคละกัน
สะอาดไม่ผุกร่อนหรือมีวัชพืชปน
การเลือกทรายที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมสำหรับงานก่อ เช่นการใช้ทรายที่มีความละเอียดมาก จะทำให้ต้องใช้น้ำมากเพระทรายละเอียดมีพื้นที่ผิวมากกว่า
ผลที่ตามมาคือ ปูนก่อจะหดตัวมาก และอาจเกิดการแตกร้าวได้ นอกจากนี้ปูนก่อที่ใช้ทรายละเอียดยังต้องใช้ปูนซีเมนต์มากขึ้นเพื่อให้กำลังเท่าเดิม จึงไม่ประหยัด
หรือกรณีที่ใช้ทรายสกปรกมากเกินไป ทำให้เนื้อปูนซีเมนต์ยึดเกาะเม็ดทรายไม่ดีเท่าที่ควร และส่วนผสมปูนก่อมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นทำให้ปูนก่อมีความแข็งแรงลดลง
3. ปูนก่อสำเร็จรูป
ปัญหาทรายที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ในเรื่องขนาดเม็ดที่ไม่เหมาะสม และมักมีสิ่งสกปรกหรือสารเคมีเจือปนอยู่ และยังมีปัญหาที่เกิดจากการผสมที่ไม่ได้สัดส่วน ซึ่ง
สัดส่วนการผสมปูนซีเมนต์ จะขึ้นอยู่กับความชำนายของช่างแต่ละคน ซึ่งใช้สัดส่วนในการผสมไม่เหมือนกัน ปัญหาเหล่านั้นจะส่งผลต่อคุณภาพของงานทั้งสิ้น
แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนก่อสำเร็จรูป เช่นปูนก่อสำเร็จรูปตราทีพีไอ ปูนก่อสำเร็จรูปตราลูกดิ่ง ปูนก่อสำเร็จรูปตราพระอาทิตย์ เป็นต้น
ปูนก่อสำเร็จรูป คือส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หินบดละเอียด และสารเคมีพิเศษ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับงานก่ออิฐ โดยการควบคุมอัตราส่วนผสม และคุณภาพของวัสถุดิบให้มีความ
สม่ำเสมอ จึงได้ปูนที่มีความเหนียว มีแรงยึดเกาะสูง ทำให้ผนังมีความแข็งแรงคงทน และมีความสะดวกในการใช้งาน เพียงฉีกถุงผสมน้ำก็สามารถใช้น้ำได้ทันที โดยไม่ต้องผสมทราย
หรือสารเคมีเพิ่ม จึงป้องกันปัยหาทรายที่ไม่ได้มาตรฐานหรือส่วนผสมที่ไม่ได้สัดส่วน อีกอย่างการบรรจุถุง ยังช่วยลดปัญหาการสูยเสียเนื่องจากการกองเก็บหรือขนย้าย
และยังใช้พื้นที่ในการกองเก็บน้อย จึงช่วยแก้ปัญหาพื้นที่กองเก็บ วัสดุในหน่วยงานที่มีพื้นที่ก่อสร้างจำกัดได้อีกด้วย
ปูนก่อสำเร็จรูปโดยทั่วไป มีน้ำหนัก 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 1-3 ตรม. ขึ้นอยุ่กับชนิดและรูปแบบของการก่ออิฐ
4. อิฐ
ควรเลือกอิฐที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่นอิบมอญหรืออิฐก่อสร้างสามัญ ควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐก่อสร้างสามัญ หรือ
มอก.77 เป็นต้น กล่าวคือ ต้องมีความแข็งแรงและเหมาะสมกับงาน มีเหลี่ยมมุมสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว มีขนาดใกล้เคียงไม่บิดงอ
.............................................................................................................
บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอบคุณเอกสารวิชาการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 2547
จัดทำบทความโดย: ทีมงานก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
1. ปูนซีเมนต์
ประเภทของปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานก่อโดยทั่วไป คือ ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ปูนซีเมนต์ผสมทีพีไอ ปูนซีเมนต์ผสมตราลูกโลกเขียวเ ป็นต้น เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ผสมหรือ มอก. 80 แต่ไม่นิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทำปูนก่อ เนื่องจากมีระยะเวลาแห้งตัว (Setting Time ) ที่เร็วเกินไป
คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่ดีสำหรับงานก่อ จะต้องมีความเหนียวนุ่ม เวลาปั้นจะจับตัวเป็นก้อนไม่แห้งแตก ยึดเกาะก้อนอิฐได้ดี แต่ไม่เหนียวติดเกรียงไม่ร่วงหล่นในขณะที่เคาะอิฐให้ได้ระดับ หรือยุบตัวได้ง่าย มีระยะของการแห้งตัวที่พอเหมาะ มีการหดตัวน้อย จึงลดการแตกร้าวได้
ปูนซีเมนต์ผสมโดยทั่วไป มีน้ำหนักถุงละ 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 3-4 ตรม. ปูนซีเมนต์ที่ดีนอกจากผลิตจากบริษัทที่ได้มาตรฐานแล้วคุณภาพของปูนซีเมนต์ขณะนำมาใช้งานต้องอยู่ในสภาพที่ดีด้วย เนื่องจากปูนซีเมนต์มีอายุการของเก็บ ปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้นาน เมื่อถูกความชื้นคุณภาพจะลดลง บางส่วนอาจจับตัวเป็นเม็ด การนำมาใช้ต้องนำส่วนที่เป็นเม็ดออกเสียก่อน หรือถ้าชื้นมากจนแข็งเป็นก้อนบี้ไม่แตกก็ไม่ควรนำมาใช้ ดังนั้นการจัดเก็บปูนซีเมนต์ควรเก็บให้โดนความชื้นน้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ปูนจับตัวเป็นก้อนก่อนนำมาใช้งาน
2. ทราย
ทรายที่นำมาใช้ในงานก่อคือทรายหยาบ ซึ่งควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตาม มอก. 598 คือ ควรเป็นทรายน้ำจืดที่มีขนาดลดผ่านตะแกรงร่อนขนาด
4.75 มม. โดยการนำมาร่อนเอากรวดเม็ดใหญ่ๆออกก่อน มีลักษณะแข็ง แน่น ทนทาน เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม เม็ดทรายที่เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม จะช่วย
เพิ่มการยึดเกาะและทำให้ได้กำลังดีกว่าไม่ควรมีลักาณะแบน หรือยาว หรือพรุน ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขนาดของเม็ดทรายควรมีขนาดคละกัน
สะอาดไม่ผุกร่อนหรือมีวัชพืชปน
การเลือกทรายที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมสำหรับงานก่อ เช่นการใช้ทรายที่มีความละเอียดมาก จะทำให้ต้องใช้น้ำมากเพระทรายละเอียดมีพื้นที่ผิวมากกว่า
ผลที่ตามมาคือ ปูนก่อจะหดตัวมาก และอาจเกิดการแตกร้าวได้ นอกจากนี้ปูนก่อที่ใช้ทรายละเอียดยังต้องใช้ปูนซีเมนต์มากขึ้นเพื่อให้กำลังเท่าเดิม จึงไม่ประหยัด
หรือกรณีที่ใช้ทรายสกปรกมากเกินไป ทำให้เนื้อปูนซีเมนต์ยึดเกาะเม็ดทรายไม่ดีเท่าที่ควร และส่วนผสมปูนก่อมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นทำให้ปูนก่อมีความแข็งแรงลดลง
3. ปูนก่อสำเร็จรูป
ปัญหาทรายที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ในเรื่องขนาดเม็ดที่ไม่เหมาะสม และมักมีสิ่งสกปรกหรือสารเคมีเจือปนอยู่ และยังมีปัญหาที่เกิดจากการผสมที่ไม่ได้สัดส่วน ซึ่ง
สัดส่วนการผสมปูนซีเมนต์ จะขึ้นอยู่กับความชำนายของช่างแต่ละคน ซึ่งใช้สัดส่วนในการผสมไม่เหมือนกัน ปัญหาเหล่านั้นจะส่งผลต่อคุณภาพของงานทั้งสิ้น
แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนก่อสำเร็จรูป เช่นปูนก่อสำเร็จรูปตราทีพีไอ ปูนก่อสำเร็จรูปตราลูกดิ่ง ปูนก่อสำเร็จรูปตราพระอาทิตย์ เป็นต้น
ปูนก่อสำเร็จรูป คือส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หินบดละเอียด และสารเคมีพิเศษ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับงานก่ออิฐ โดยการควบคุมอัตราส่วนผสม และคุณภาพของวัสถุดิบให้มีความ
สม่ำเสมอ จึงได้ปูนที่มีความเหนียว มีแรงยึดเกาะสูง ทำให้ผนังมีความแข็งแรงคงทน และมีความสะดวกในการใช้งาน เพียงฉีกถุงผสมน้ำก็สามารถใช้น้ำได้ทันที โดยไม่ต้องผสมทราย
หรือสารเคมีเพิ่ม จึงป้องกันปัยหาทรายที่ไม่ได้มาตรฐานหรือส่วนผสมที่ไม่ได้สัดส่วน อีกอย่างการบรรจุถุง ยังช่วยลดปัญหาการสูยเสียเนื่องจากการกองเก็บหรือขนย้าย
และยังใช้พื้นที่ในการกองเก็บน้อย จึงช่วยแก้ปัญหาพื้นที่กองเก็บ วัสดุในหน่วยงานที่มีพื้นที่ก่อสร้างจำกัดได้อีกด้วย
ปูนก่อสำเร็จรูปโดยทั่วไป มีน้ำหนัก 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 1-3 ตรม. ขึ้นอยุ่กับชนิดและรูปแบบของการก่ออิฐ
ควรเลือกอิฐที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่นอิบมอญหรืออิฐก่อสร้างสามัญ ควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐก่อสร้างสามัญ หรือ
มอก.77 เป็นต้น กล่าวคือ ต้องมีความแข็งแรงและเหมาะสมกับงาน มีเหลี่ยมมุมสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว มีขนาดใกล้เคียงไม่บิดงอ
.............................................................................................................
บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอบคุณเอกสารวิชาการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 2547
จัดทำบทความโดย: ทีมงานก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทต่างๆ
ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีต
มาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของไทย คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ หรือ มอก.15
เล่ม1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ ได้แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็น 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. ประเภท 1 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย เป็นปูนซีเมนต์ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทำคอนกรีต หรือทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการคุณภาพพิเศษ เหมาะสำหรับงานคอนกรีตทั่วไป เช่น งานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, พื้นอาคาร, ถนน, สะพาน,ถังกังเก็บน้ำ, อ่างเก็บน้ำ, ท่อน้ำ ,และผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปเป็นต้นนอกจากนี้ ยังเหมาะสมกับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น สะพานขนาดใหญ่ และอาคารสูงเป็นต้น
2. ประเภท 2 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง ทนซัลเฟตได้ปานกลาง หรือเกิดจากความร้อนจากการทำปฎิกิริยาไฮเดชั่นปานกลาง เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดความร้อนน้อยกว่าประเภท 1 และทนซัลเฟตปานกลางได้ เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับดินหรือที่มีความเข้มข้นของซัลเฟตสูงกว่าปกติแต่ไม่ถึงระดับรุนแรง สามารถทนซัลเฟสได้เพราะมีไตรคัลเซียมอลูมิเนต ในซีเมนต์ ไม่เกิน8% ถ้ามีปริมาณซัลเฟตสูงๆเช่นงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง เป็นต้น ควรใช้ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ประเภท 5 มากกว่า เพราะมี C3A ต่ำกว่า ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วน
น้ำต่อวัสดุประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้น (ลดการซึมผ่าน) และสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้
นอกจากนี้ ยังใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ในโครงสร้างที่มีความหนามาก เช่นต่อม่อขนาดใหญ่ ฐานรากขนาดใหญ่ หรือกำแพงกันดินที่หนามากๆ เพราะเป็นปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนจากปฎิกิริยาไฮเดชั่น ในระดับปานกลาง และอัตราการเกิดความร้อนจะช้ากว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 จึงสามารถลดโอกาศเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความร้อนได้
3. ประเภท 3 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูง(High Strength portland cement )
ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ให้กำลังอัดสูงในช่วงแรกๆ เพราะปูนซีเมนต์ มีความละเอียดมากกว่่า
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วหรือถอดแบบในระยะเวลาอันสั้นมักใช้ในงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปชนิดต่างๆ แผ่นพื้น อัดแรง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาและงานสำเร็จรุปสำหรับงานอาคาร และหมอนรางรถไฟ เป็นต้น ไม่ควรใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ในงานโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ เพราะความร้อนจากปฎิกิริยา ไฮเดชั่น จะเกิดสูงมากในช่วงต้น อาจทำให้โครงสร้างเกิดการแตกร้าวได้รูปภาพต่าง แผ่นพื้น เสาเข็ม
4. ประเภท 4 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low heat portland Cement)
เป็นต์ปูนซีเมนที่ให้ปริมาณและอัตราความร้อนจากปฎิกริยาไฮเดชั่นต่ำ โดยเกิดความร้อน
น้อยกว่าต์ปูนซีเมนประเภท 2 และมีการพัฒนากำลังช้ากว่าปูนซีเมนต์ประเภท อื่นๆ เหมะสำหรับงานคอนกรีตหลา (Mass Concrete ) เช่นเขื่อนเป็นต้น เนื่องจากทำให้อุณหภูมิของคอนกรีตขณะก่อตัวต่่ำว่าปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ซึ่งเป็นการลดปัญหาการเสี่ยงเกิดรอยแตกร้าว เนื่องจากความร้อน
ประเทศไทยไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ปัจจุบันมีการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 ผสมกับสารปอซโซลาน เช่่น เถ้าลอย (Fly Ash ) เพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นได้
5. ประเภท 5 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตสูง ซีเมนปูนต์ประเภทนี้มีค่า C3A ไม่เกิน 5% เพื่อป้องกันไม่ให้ซัลเฟตจากภายนอกเข้ามาทำลายเนื้อคอนกรีตและให้กำลังช้ากว่าปูนปอร์ตแลนด์ประเภท 1 เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับเกลือซัลเฟตอย่างรุนแรง จากดินหรือน้ำที่มีซัลเฟตสุง เช่นงานก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง หรือโครงสร้าง
ใต้ดินเป็นต้น ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุเชื่อมประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้นและสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้ แต่ไม่สามารถต้านทานต่อกรดและสารที่มีฤทธิกัดกร่อนอย่างรุนแรงได้ เช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ประเภทอื่น ๆ
6. ประเภท 1A ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ ประเภทกระจายกักฟองอากาศ ,ปูนซีเมนต์ประเภท 2A และปูนซีเมนต์ประเภท 3A จะไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้
.........................................................................................................................................
บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ที่มา: ซีเมนต์สาร สำนักงานเลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 2544
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
มาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของไทย คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ หรือ มอก.15
เล่ม1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ ได้แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็น 5 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. ประเภท 1 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย เป็นปูนซีเมนต์ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทำคอนกรีต หรือทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการคุณภาพพิเศษ เหมาะสำหรับงานคอนกรีตทั่วไป เช่น งานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, พื้นอาคาร, ถนน, สะพาน,ถังกังเก็บน้ำ, อ่างเก็บน้ำ, ท่อน้ำ ,และผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปเป็นต้นนอกจากนี้ ยังเหมาะสมกับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น สะพานขนาดใหญ่ และอาคารสูงเป็นต้น
2. ประเภท 2 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง ทนซัลเฟตได้ปานกลาง หรือเกิดจากความร้อนจากการทำปฎิกิริยาไฮเดชั่นปานกลาง เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดความร้อนน้อยกว่าประเภท 1 และทนซัลเฟตปานกลางได้ เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับดินหรือที่มีความเข้มข้นของซัลเฟตสูงกว่าปกติแต่ไม่ถึงระดับรุนแรง สามารถทนซัลเฟสได้เพราะมีไตรคัลเซียมอลูมิเนต ในซีเมนต์ ไม่เกิน8% ถ้ามีปริมาณซัลเฟตสูงๆเช่นงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง เป็นต้น ควรใช้ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ประเภท 5 มากกว่า เพราะมี C3A ต่ำกว่า ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วน
น้ำต่อวัสดุประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้น (ลดการซึมผ่าน) และสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้
นอกจากนี้ ยังใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ในโครงสร้างที่มีความหนามาก เช่นต่อม่อขนาดใหญ่ ฐานรากขนาดใหญ่ หรือกำแพงกันดินที่หนามากๆ เพราะเป็นปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนจากปฎิกิริยาไฮเดชั่น ในระดับปานกลาง และอัตราการเกิดความร้อนจะช้ากว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 จึงสามารถลดโอกาศเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความร้อนได้
3. ประเภท 3 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูง(High Strength portland cement )
ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ให้กำลังอัดสูงในช่วงแรกๆ เพราะปูนซีเมนต์ มีความละเอียดมากกว่่า
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วหรือถอดแบบในระยะเวลาอันสั้นมักใช้ในงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปชนิดต่างๆ แผ่นพื้น อัดแรง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาและงานสำเร็จรุปสำหรับงานอาคาร และหมอนรางรถไฟ เป็นต้น ไม่ควรใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ในงานโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ เพราะความร้อนจากปฎิกิริยา ไฮเดชั่น จะเกิดสูงมากในช่วงต้น อาจทำให้โครงสร้างเกิดการแตกร้าวได้รูปภาพต่าง แผ่นพื้น เสาเข็ม
4. ประเภท 4 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low heat portland Cement)
เป็นต์ปูนซีเมนที่ให้ปริมาณและอัตราความร้อนจากปฎิกริยาไฮเดชั่นต่ำ โดยเกิดความร้อน
น้อยกว่าต์ปูนซีเมนประเภท 2 และมีการพัฒนากำลังช้ากว่าปูนซีเมนต์ประเภท อื่นๆ เหมะสำหรับงานคอนกรีตหลา (Mass Concrete ) เช่นเขื่อนเป็นต้น เนื่องจากทำให้อุณหภูมิของคอนกรีตขณะก่อตัวต่่ำว่าปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ซึ่งเป็นการลดปัญหาการเสี่ยงเกิดรอยแตกร้าว เนื่องจากความร้อน
ประเทศไทยไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ปัจจุบันมีการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 ผสมกับสารปอซโซลาน เช่่น เถ้าลอย (Fly Ash ) เพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นได้
5. ประเภท 5 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตสูง ซีเมนปูนต์ประเภทนี้มีค่า C3A ไม่เกิน 5% เพื่อป้องกันไม่ให้ซัลเฟตจากภายนอกเข้ามาทำลายเนื้อคอนกรีตและให้กำลังช้ากว่าปูนปอร์ตแลนด์ประเภท 1 เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับเกลือซัลเฟตอย่างรุนแรง จากดินหรือน้ำที่มีซัลเฟตสุง เช่นงานก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง หรือโครงสร้าง
ใต้ดินเป็นต้น ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุเชื่อมประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้นและสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้ แต่ไม่สามารถต้านทานต่อกรดและสารที่มีฤทธิกัดกร่อนอย่างรุนแรงได้ เช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ประเภทอื่น ๆ
6. ประเภท 1A ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ ประเภทกระจายกักฟองอากาศ ,ปูนซีเมนต์ประเภท 2A และปูนซีเมนต์ประเภท 3A จะไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้
.........................................................................................................................................
บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ที่มา: ซีเมนต์สาร สำนักงานเลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 2544
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ : (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)