วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทต่างๆ

ปูนซีเมนต์สำหรับงานโครงสร้างและงานหล่อผลิตภัณฑ์คอนกรีต
          มาตรฐานปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ของไทย คือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนต์ หรือ มอก.15
เล่ม1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ  ได้แบ่งปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็น  5  ประเภทด้วยกัน ได้แก่

1. ประเภท 1 :   ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา   เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ที่นิยมใช้มากที่สุดในประเทศไทย เป็นปูนซีเมนต์ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ทำคอนกรีต หรือทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ต้องการคุณภาพพิเศษ  เหมาะสำหรับงานคอนกรีตทั่วไป   เช่น งานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, พื้นอาคาร, ถนน, สะพาน,ถังกังเก็บน้ำ, อ่างเก็บน้ำ, ท่อน้ำ ,และผลิตภัณฑ์คอนกรีตสำเร็จรูปเป็นต้นนอกจากนี้ ยังเหมาะสมกับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น สะพานขนาดใหญ่ และอาคารสูงเป็นต้น






2.  ประเภท 2 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง  ทนซัลเฟตได้ปานกลาง หรือเกิดจากความร้อนจากการทำปฎิกิริยาไฮเดชั่นปานกลาง เป็นปูนซีเมนต์ที่เกิดความร้อนน้อยกว่าประเภท 1 และทนซัลเฟตปานกลางได้  เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องสัมผัสกับดินหรือที่มีความเข้มข้นของซัลเฟตสูงกว่าปกติแต่ไม่ถึงระดับรุนแรง   สามารถทนซัลเฟสได้เพราะมีไตรคัลเซียมอลูมิเนต ในซีเมนต์ ไม่เกิน8%    ถ้ามีปริมาณซัลเฟตสูงๆเช่นงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง เป็นต้น ควรใช้ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ประเภท 5 มากกว่า เพราะมี C3A ต่ำกว่า       ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วน
น้ำต่อวัสดุประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้น (ลดการซึมผ่าน) และสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้
                  นอกจากนี้ ยังใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ในโครงสร้างที่มีความหนามาก เช่นต่อม่อขนาดใหญ่  ฐานรากขนาดใหญ่ หรือกำแพงกันดินที่หนามากๆ  เพราะเป็นปูนซีเมนต์ที่ให้ความร้อนจากปฎิกิริยาไฮเดชั่น ในระดับปานกลาง และอัตราการเกิดความร้อนจะช้ากว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 จึงสามารถลดโอกาศเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความร้อนได้







   3.  ประเภท 3 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทให้กำลังอัดสูง(High Strength portland cement )
        ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ให้กำลังอัดสูงในช่วงแรกๆ เพราะปูนซีเมนต์ มีความละเอียดมากกว่่า
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1    เหมาะสำหรับงานคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วหรือถอดแบบในระยะเวลาอันสั้นมักใช้ในงานหล่อผลิตภัณฑ์ คอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปชนิดต่างๆ  แผ่นพื้น อัดแรง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาและงานสำเร็จรุปสำหรับงานอาคาร และหมอนรางรถไฟ  เป็นต้น   ไม่ควรใช้ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ในงานโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ เพราะความร้อนจากปฎิกิริยา ไฮเดชั่น จะเกิดสูงมากในช่วงต้น อาจทำให้โครงสร้างเกิดการแตกร้าวได้รูปภาพต่าง แผ่นพื้น เสาเข็ม





 4.  ประเภท 4 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ (Low heat portland Cement)
       เป็นต์ปูนซีเมนที่ให้ปริมาณและอัตราความร้อนจากปฎิกริยาไฮเดชั่นต่ำ โดยเกิดความร้อน
น้อยกว่าต์ปูนซีเมนประเภท 2 และมีการพัฒนากำลังช้ากว่าปูนซีเมนต์ประเภท อื่นๆ  เหมะสำหรับงานคอนกรีตหลา (Mass Concrete ) เช่นเขื่อนเป็นต้น เนื่องจากทำให้อุณหภูมิของคอนกรีตขณะก่อตัวต่่ำว่าปูนซีเมนต์ชนิดอื่น ซึ่งเป็นการลดปัญหาการเสี่ยงเกิดรอยแตกร้าว เนื่องจากความร้อน
              ประเทศไทยไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ประเภทนี้ ปัจจุบันมีการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท1 ผสมกับสารปอซโซลาน เช่่น เถ้าลอย (Fly Ash ) เพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นได้



5.  ประเภท 5 : ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตสูง   ซีเมนปูนต์ประเภทนี้มีค่า C3A ไม่เกิน 5% เพื่อป้องกันไม่ให้ซัลเฟตจากภายนอกเข้ามาทำลายเนื้อคอนกรีตและให้กำลังช้ากว่าปูนปอร์ตแลนด์ประเภท 1    เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับเกลือซัลเฟตอย่างรุนแรง จากดินหรือน้ำที่มีซัลเฟตสุง เช่นงานก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับน้ำเสียโดยตรง  หรือโครงสร้าง
ใต้ดินเป็นต้น    ต้องใช้ร่วมกับส่วนผสมคอนกรีตที่มีอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุเชื่อมประสานต่ำๆ เพื่อทำให้เนื้อคอนกรีตทึบขึ้นและสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากซัลเฟตได้  แต่ไม่สามารถต้านทานต่อกรดและสารที่มีฤทธิกัดกร่อนอย่างรุนแรงได้ เช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ประเภทอื่น ๆ







6. ประเภท 1A ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ ประเภทกระจายกักฟองอากาศ ,ปูนซีเมนต์ประเภท 2A และปูนซีเมนต์ประเภท 3A จะไม่ขอกล่าวไว้ในที่นี้
.........................................................................................................................................

บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ที่มา: ซีเมนต์สาร  สำนักงานเลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ 2544
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอท คอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น