วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ปูนซีเมนต์ กับวัสดุที่ใช้กับงานก่อ

วัสดุที่ใช้ในงานก่อ
1. ปูนซีเมนต์
           ประเภทของปูนซีเมนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับงานก่อโดยทั่วไป คือ ปูนซีเมนต์ผสม เช่น ปูนซีเมนต์ผสมทีพีไอ ปูนซีเมนต์ผสมตราลูกโลกเขียวเ  ป็นต้น เป็นปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ผสมหรือ มอก. 80 แต่ไม่นิยมใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทำปูนก่อ เนื่องจากมีระยะเวลาแห้งตัว (Setting Time ) ที่เร็วเกินไป
            คุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่ดีสำหรับงานก่อ จะต้องมีความเหนียวนุ่ม เวลาปั้นจะจับตัวเป็นก้อนไม่แห้งแตก ยึดเกาะก้อนอิฐได้ดี แต่ไม่เหนียวติดเกรียงไม่ร่วงหล่นในขณะที่เคาะอิฐให้ได้ระดับ หรือยุบตัวได้ง่าย  มีระยะของการแห้งตัวที่พอเหมาะ มีการหดตัวน้อย จึงลดการแตกร้าวได้
            ปูนซีเมนต์ผสมโดยทั่วไป มีน้ำหนักถุงละ 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 3-4 ตรม.   ปูนซีเมนต์ที่ดีนอกจากผลิตจากบริษัทที่ได้มาตรฐานแล้วคุณภาพของปูนซีเมนต์ขณะนำมาใช้งานต้องอยู่ในสภาพที่ดีด้วย เนื่องจากปูนซีเมนต์มีอายุการของเก็บ  ปูนซีเมนต์ที่เก็บไว้นาน เมื่อถูกความชื้นคุณภาพจะลดลง บางส่วนอาจจับตัวเป็นเม็ด  การนำมาใช้ต้องนำส่วนที่เป็นเม็ดออกเสียก่อน หรือถ้าชื้นมากจนแข็งเป็นก้อนบี้ไม่แตกก็ไม่ควรนำมาใช้    ดังนั้นการจัดเก็บปูนซีเมนต์ควรเก็บให้โดนความชื้นน้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ปูนจับตัวเป็นก้อนก่อนนำมาใช้งาน




2. ทราย
       ทรายที่นำมาใช้ในงานก่อคือทรายหยาบ ซึ่งควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตาม มอก. 598 คือ ควรเป็นทรายน้ำจืดที่มีขนาดลดผ่านตะแกรงร่อนขนาด
4.75 มม. โดยการนำมาร่อนเอากรวดเม็ดใหญ่ๆออกก่อน มีลักษณะแข็ง แน่น ทนทาน เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม  เม็ดทรายที่เป็นแง่ มีเหลี่ยมมุม จะช่วย
เพิ่มการยึดเกาะและทำให้ได้กำลังดีกว่าไม่ควรมีลักาณะแบน หรือยาว หรือพรุน ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขนาดของเม็ดทรายควรมีขนาดคละกัน
สะอาดไม่ผุกร่อนหรือมีวัชพืชปน
             การเลือกทรายที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมสำหรับงานก่อ  เช่นการใช้ทรายที่มีความละเอียดมาก จะทำให้ต้องใช้น้ำมากเพระทรายละเอียดมีพื้นที่ผิวมากกว่า
ผลที่ตามมาคือ ปูนก่อจะหดตัวมาก และอาจเกิดการแตกร้าวได้ นอกจากนี้ปูนก่อที่ใช้ทรายละเอียดยังต้องใช้ปูนซีเมนต์มากขึ้นเพื่อให้กำลังเท่าเดิม จึงไม่ประหยัด
หรือกรณีที่ใช้ทรายสกปรกมากเกินไป ทำให้เนื้อปูนซีเมนต์ยึดเกาะเม็ดทรายไม่ดีเท่าที่ควร และส่วนผสมปูนก่อมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นทำให้ปูนก่อมีความแข็งแรงลดลง





3. ปูนก่อสำเร็จรูป
            ปัญหาทรายที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ในเรื่องขนาดเม็ดที่ไม่เหมาะสม และมักมีสิ่งสกปรกหรือสารเคมีเจือปนอยู่ และยังมีปัญหาที่เกิดจากการผสมที่ไม่ได้สัดส่วน  ซึ่ง
สัดส่วนการผสมปูนซีเมนต์ จะขึ้นอยู่กับความชำนายของช่างแต่ละคน ซึ่งใช้สัดส่วนในการผสมไม่เหมือนกัน  ปัญหาเหล่านั้นจะส่งผลต่อคุณภาพของงานทั้งสิ้น
แต่ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยใช้ปูนก่อสำเร็จรูป  เช่นปูนก่อสำเร็จรูปตราทีพีไอ ปูนก่อสำเร็จรูปตราลูกดิ่ง ปูนก่อสำเร็จรูปตราพระอาทิตย์ เป็นต้น
ปูนก่อสำเร็จรูป คือส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หินบดละเอียด และสารเคมีพิเศษ ตามสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับงานก่ออิฐ โดยการควบคุมอัตราส่วนผสม และคุณภาพของวัสถุดิบให้มีความ
สม่ำเสมอ จึงได้ปูนที่มีความเหนียว มีแรงยึดเกาะสูง ทำให้ผนังมีความแข็งแรงคงทน และมีความสะดวกในการใช้งาน เพียงฉีกถุงผสมน้ำก็สามารถใช้น้ำได้ทันที โดยไม่ต้องผสมทราย
หรือสารเคมีเพิ่ม จึงป้องกันปัยหาทรายที่ไม่ได้มาตรฐานหรือส่วนผสมที่ไม่ได้สัดส่วน   อีกอย่างการบรรจุถุง ยังช่วยลดปัญหาการสูยเสียเนื่องจากการกองเก็บหรือขนย้าย
และยังใช้พื้นที่ในการกองเก็บน้อย จึงช่วยแก้ปัญหาพื้นที่กองเก็บ วัสดุในหน่วยงานที่มีพื้นที่ก่อสร้างจำกัดได้อีกด้วย
ปูนก่อสำเร็จรูปโดยทั่วไป มีน้ำหนัก 50 กก. สามารถก่อได้พื้นที่ประมาณ 1-3 ตรม. ขึ้นอยุ่กับชนิดและรูปแบบของการก่ออิฐ




4. อิฐ
     ควรเลือกอิฐที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เช่นอิบมอญหรืออิฐก่อสร้างสามัญ ควรมีคุณภาพสอดคล้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อิฐก่อสร้างสามัญ หรือ
มอก.77 เป็นต้น กล่าวคือ ต้องมีความแข็งแรงและเหมาะสมกับงาน มีเหลี่ยมมุมสมบูรณ์ ไม่มีรอยแตกร้าว มีขนาดใกล้เคียงไม่บิดงอ
.............................................................................................................

บทความนี้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอบคุณเอกสารวิชาการ บริษัทปูนซีเมนต์ไทยอุตสาหกรรม 2547
จัดทำบทความโดย: ทีมงานก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :    (Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ  ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น